เตือนภัย รับมือการระบาดในจังหวัด หลังพบตัวชี้วัดการระบาดในระดับชุมชน คือ ซากเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นในน้ำเสียจากชุมชน

แบ่งปัน

เตือนภัย รับมือการระบาดในจังหวัด หลังพบตัวชี้วัดการระบาดในระดับชุมชน คือซากเชื้อโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นในน้ำเสียจากชุมชนเทศบาลนครพิษณุโลก ประชาชนควรเร่งเข้ารับวัคซีนป้องกันความรุนแรงของโรค และเร่งตรวจ ATK เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่

แม้ว่าซากเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี 2 (SARS-CoV2 ) ในน้ำเสียโสโครกจะไม่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ แต่การตรวจพบซากเชื้อดังกล่าวเป็นการชี้วัดความชุกของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระดับชุมชนได้อย่างแม่นยำ เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ใน 58 ประเทศทั่วโลก วิธีนี้ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ที่ระบาดในชุมชนได้ทุกสายพันธุ์ และเตือนภัย ชี้เป้าพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อมากและอาจเกิดการระบาด ได้ล่วงหน้าประมาณ 2 อาทิตย์ผลการตรวจวัดซากเชื้อไวรัสดังกล่าว ในน้ำเสียโสโครกจากชุมชนเทศบาลนครพิษณุโลก และ การคาดการณ์ร้อยละของผู้ติดเชื้อเชิงพื้นที่ ประจําสัปดาห์ โดย คณะวิจัยระบาดวิทยาน้ำเสีย เพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าโควิด-19 มหาวิทยาลัยนเรศวร (ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ) ซึ่งทำการเก็บตัวอย่างในวันที่ 5 มกราคม 2565 คณะวิจัยได้เก็บตัวอย่างน้ำเสียโสโครกทั้งสิ้น 26 ตัวอย่างจากบ่อรวบรวมน้ําเสียและสถานีสูบน้ำเสียในเทศบาลนครพิษณุโลกและจากสถานที่ที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ เช่น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) ห้างสรรพสินค้า มหาวิทยาลัยนเรศวร และชุมชนรอบมหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะวิจัยได้ดําเนินการวิเคราะห์ความเข้มข้นของ N gene ของ SARS-CoV-2 ในตัวอย่างน้ําเสีย โสโครกดังกล่าว ด้วยเทคนิค RT- qPCR ได้ผลการวิเคราะห์โดยตรวจพบ RNA ของ SARS-CoV-2 จากตัวอย่างน้ําเสียโสโครกท้ังสิ้น 11 ตัวอย่าง ผลการคํานวณ แปลผล คาดการณ์ว่า ร้อยละของผู้ติดเชื้อเชิงพื้นที่มีแนวโน้มการเพิ่มของการระบาดอย่างมีนัยสําคัญ โดยเฉพาะด้านฝั่งแม่น้ำน่านตอนบน พบความเข้มข้นของซากเชื้อสูงมากเป็นประวัติการณ์ของการเก็บตัวอย่างในจังหวัดพิษณุโลก มีความเป็นได้ที่อาจจะมีผู้ติด เชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (ที่มักจะมีปริมาณเชื้อมากในอุจจาระ- ปัสสาวะ) จึงทําให้พบซากเชื้อในน้ําเสียโสโครกสูงผิดปกติ บริเวณนี้ และทางฝั่งขวามือของแม่น้ําน่าน การพบ RNA ของซากเชื้อ SARS-CoV-2 สูงเช่นกัน ทําให้คาดการณ์ได้ว่ามีผู้ติดเชื้ออีกประมาณ 29.03 % ของประชาชนที่อยู่ในเทศบาลบริเวณนี้ ซึ่งสอดคล้องกับแหล่งเกิดคลัสเตอร์ในร้านอาหารกลางคืนย่านชุมชนพญาเสือ ที่มีกลุ่มก้อนล่าสุดมากถึง 14 คน

อย่างไรก็ตาม ควรต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเคร่งครัดกับมาตรการ DMHTT และการตรวจเชิงรุกด้วย ATK หรือ RT- qPCR รู้เร็ว รักษาเร็ว เพื่อคัดแยกผู้ติดเชื้อเข้าสู่กระบวนการรักษา ทั้งในระบบ HI หรือ CI เพื่อควบคุมและลดการระบาด รวมทั้ง รณรงค์การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อลดการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน และอื่นๆ ด้วย

สำหรับพื้นที่มหาวิทยลัยนเรศวร พบซากเชื้อที่แสดงว่ามีผู้ติดเชื้อในบริเวณมหาวิทยาลัยประมาณ 3.41 % เพิ่มขึ้นจาก 2 สัปดาห์ที่แล้วเล็กน้อย แสดงว่าการระบาดยังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในพื้นที่ ควรลดความเสี่ยงด้วยการเรียน online หรือ จัดห้องเรียนให้นั่งห่างกัน และ ใช้มาตรการ DMHTTอย่างเคร่งครัดควรประชาสัมพันธ์ให้นิสิต หรือ เจ้าหน้าที่ที่สงสัยว่าตัวเองอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้ามาทําการตรวจคัดกรองเพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกมาให้เร็ว ในขณะที่ชุมชนรอบ มหาวิทยาลัยฯ บริเวณหมู่ 7 และ หมู่ 8 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมืองพิษณุโลก คาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มลดลงจาก 2 สัปดาห์ก่อนแต่ยังอยู่ในระดับสูงอยู่ การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเคร่งครัดกับมาตรการ DMHTT และทําการตรวจเชิงรุกด้วย ATK หรือ RT- qPCR ยังมีความจำเป็น เพื่อลดการระบาดที่อาจจะเชื่อมโยงจากชุมชนโดยรอบสู่มหาวิทยาลัย

อีกจุดที่สำคัญ คือ ตรวจพบเป็นครั้งที่ 2 ณ บริเวณห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านถนนสิงหวัฒน์ พบซากเชื้อความเข้มข้น เพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า จากครั้งแรกที่ตรวจพบ (26 พ.ย.2564) จึงมีความน่าจะเป็นที่จะมีผู้ป่วยในละแวกนี้เพิ่มขึ้นอีก

ขอขอบคุณข้อมูลจากคณะวิจัยระบาดวิทยาน้ำเสีย เพื่อการเตือนภัยล่วงหน้าโควิด-19 มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์, รศ.ดร. อภินันท์ ลิ้มมงคล, ดร.พญ.อัญพัชญ์ อติพิมลพัชญ์, ดร.ศิริวรรณ วิชัย, ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์, ดร.สุภาวรรณ ศรีรัตนา และ คณะวิจัย จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

ข้อมูลจาก : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก