อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการสัมมนา แนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน ภาคเหนือตอนล่าง

แบ่งปัน

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น ห้องประชุม slopeHu เวลา 10.00 น. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ คณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการ การศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเรื่องแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ( องค์การมหาชน ) ภาคเหนือตอนล่าง


เนื่องจากปัจจุบันโลกของเรากำลังประสบกับภาวะวิกฤตสถานการณ์โควิด – 19 ที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา เป็นสถานการณ์ที่ทุกคนต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน สถานศึกษาต้องปิดการเรียนการสอน ห้องสมุดต้องปิดให้บริการ
ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสารทยอยปิดตัวกันอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อทั้งนักเขียน นักหนังสือพิมพ์และผู้ที่ทำงานในวงการสิ่งพิมพ์ สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สำหรับประเทศไทยยังขาดองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการเรื่องระบบหนังสืออย่างครบวงจรในการพัฒนาการอ่าน การเขียน การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ การพัฒนาระบบหนังสือจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสังคมของการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้
ในการนี้ คณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรมและคณะทำงานจัดทำพิจารณาศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

จึงเกิดเป็นการสัมมนา “รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน)ภาคเหนือตอนบน” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านปัจจัยเงื่อนไข องค์ประกอบและทิศทางในการขับเคลื่อนสู่การเป็นสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ที่จะเป็นองค์กรที่บริหารจัดการระบบหนังสือทั้งระบบตั้งแต่นักเขียน หนังสือทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์และดิจิทัล กระบวนการผลิตเพื่อให้ผู้อ่าน
เข้าถึงหนังสือได้ รวมทั้งการแปลวรรณกรรมจากไทยสู่สากล พร้อมรวบรวมจัดทําฐานข้อมูลทางดิจิทัลในการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมจากศิลปินศิลปวัฒนธรรมทุกแขนงทุกระดับที่เป็นภูมิรู้ภูมิปัญญาแผ่นดิน และเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาคุณค่าและความยั่งยืนทางด้านศิลปวัฒนธรรมแก่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องการสัมมนาในวันนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 80 คน รูปแบบการสัมมนาประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ การนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มในเวทีการสัมมนา ซึ่งมีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์ กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง และ กลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิประจำ แต่ละกลุ่ม