สสส. จัดอบรมสัมมนาจิตสำนึกและมาตรการเพื่อความปลอดภัยบนถนนอย่างแท้จริง ตามกฎหมายจราจรทางบก

แบ่งปัน

วันที่ 16 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 น ห้องประชุมวังจันทร์ โรงแรมวังจันทร์ริเวอร์วิว จังหวัดพิษณุโลก นายพิษณุ วิเชียรสวรรค์ อธิบดีอัยการภาค 6 เป็นประธานเปิดการสัมมนาจิตสำนึกและมาตรการเพื่อความปลอดภัยบนถนนอย่างแท้จริงตามกฎหมายจราจรทางบก โดย นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วยหน่วยงานเกี่ยวข้องภาคเหนือตอนล่าง เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้


คนไทยเสียชีวิตจากการเดินทางสัญจรทางถนนสูงมาก บางปีสูงเป็นอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ความจำเป็นในการเดินทางไปมาหาสู่ของคนในสังคมที่ขยายความเจริญสู่ชนบทและจำนวนผู้ใช้ยานพาหนะเพิ่มตามจำนวนประชากร อดีตปี 2542 สูงถึงปีละ 32.7 และเหลือ 25.42 คนต่อแสนประชากรในปี 2564 เทียบกับประเทศที่มีความปลอดภัยสูงมีจำนวนผู้เสียชีวิตไม่ถึง 5 คนต่อแสนประชากร ในประเทศไทยจักรยานยนต์เป็นพาหนะจดทะเบียนที่มีสัดส่วนสูงถึง 70 % และเป็นพาหนะที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและทำเสียชีวิตถึงยานพาหนะทั้งหมด ประเทศไทยลงนามปฏิญญาสากลร่วมกับนานาประเทศทั่วโลก ตั้งเป้าหมายจะลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในปี 2570 ไม่เกิน 12 ต่อแสนประชากร จึงต้องร่วมกันทำงานอย่างหนัก จริงจังทุกภาคส่วน


80% ของการสร้างจิตสำนึกและให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้ตระหนักทราบถึงความรุนแรง
ของการสัญจรทางถนน และมีพฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัย ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงเช่น เมาแล้วขับขับด้วยความเร็วเกินกฎหมายกำหนด ฝ่าสัญญาณจราจร ขับย้อนศร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดอุบัติเหตุ ประชาชนต้องยอมรับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การไม่สวมหมวกกันน็อกขณะขับรถจักรยานยนต์ ทั้งที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2539 เพราะไม่เกรงกลัวการถูกลงโทษ ขาดความเข้าใจเรื่องการช่วยป้องกันการบาดเจ็บสมองที่รุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตถึง 40 % คิดเป็น 5,000 คนต่อปี


ชุมชน ท้องถิ่น องค์กรทั้งรัฐและเอกชนทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ และครอบครัวต้องกระตุ้นเตือน กำกับดูแลให้บุคลากรหรือสมาชิกมิให้ทำผิดกฎหมายจราจรหรือข้อตกลงตามมาตรการองค์กรการจัดสัมมนาครั้งนี้เพื่อสรุปบทเรียนการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังตามมาตรการเมาแล้วขับ จับขังจริงใน ในพื้นที่ 4 จังหวัดเขตศาลยุติธรรมภาค 5 ของหน่วยงานภาคีเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยทางถนนระดับจังหวัด ต้องบูรณาการทุกหน่วยงานให้ร่วมกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตำรวจที่ต้องตรวจจับผู้กระทำความผิดโดยเฉพาะผู้ที่เมาสุราแล้วขับขี่ อัยการเป็นผู้ตรวจข้อเท็จจริงพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายและเสนอประเด็นความผิดอย่างรอบครอบ เพื่อให้ผู้กระทำความผิดได้ถูกพิจารณาลงโทษครบถ้วนทุกข้อ ผู้พิพากษาเป็นผู้ที่จะพิจารณาตัดสินลงโทษตามบทบัญญัติของกฎหมาย ให้ความเป็นธรรมต่อผู้กระทำผิดและผู้รับผลการกระทำตามกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานต่างๆ และผู้นำท้องถิ่นทุกระดับ ตั้งแต่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรีนครหรือเมือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมเรียนรู้ การประสานร่วมมือสนับสนุนกำลังคน งบประมาณการดำเนินงานอย่างเต็มที่และขยายผลทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเข้มข้น จริงจัง ต่อเนื่อง จะทำให้ผู้ทำความผิดหวาดกลัว เข็ดหลาบไม่คิดจะทำผิดอีก ถนนจะมีความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ผู้โดยสารอื่น และคนเดินเท้า นำไปสู่การลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต