ส.ส.นิยม ช่างพินิจ เสนอแผนพัฒนาเมืองพิษณุโลก สร้างเขื่อนบางกระทุ่ม ถือเป็นเขื่อนแห่งที่ 2 รองจากเขื่อนนเรศวร

แบ่งปัน

โดยการพัฒนาครั้งนี้ มีเป้าหมายแก้ปัญหาตลิ่งพังจากหน้าวัดใหญ่ถึง ต.สนามคลี อ.บางกระทุ่ม ระยะทางยาว 66 กิโลเมตร ล่าสุด ส.ส.นิยม ช่างพินิจ ยื่นหนังสือต่อ รองอธิบดีกรมชลประทาน ขอสนับสนุนงบทำรายงานผลกระทบ 35 ล้านบาท หลังระดมผู้นำท้องที่-ท้องถิ่นแล้ว หนุนสร้างเขื่อนบังคับน้ำกั้นแม่น้ำน่านยาว 800 เมตร มูลค่าพันกว่าล้านบาท

16 พฤศจิกายน 2565 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เดินทางมาประชุมเชิงปฎิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยาในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 และจังหวัดที่เหมาะสม โดยการถอดบนเรียนจาก “บางระกำโมเดล สู่ สี่แควโมเดล” ที่โรงแรมท๊อปแลนด์ จ.พิษณุโลก พร้อมกับอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล, ตัวแทนอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำระดมจนท.ในหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำในทุกจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

ระหว่างการประชุม นายนิยม ช่างพินิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 4 ได้นำหนังสือส่งถึง นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เพื่อให้ผุดโครงการสร้างเขื่อนบางกระทุ่ม มูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท เพื่อช่วยป้องกันตลิ่งพัง และเป็นแหล่งเก็บน้ำและหน่วงน้ำได้อีกแห่ง โดยของบการจัดทำประชาพิจารณ์ 35 ล้านบาทเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตนได้รับหนังสือจาก ส.ส.นิยมแล้ว ก็พร้อมจะขับเคลื่อนในการทำเขื่อนบางกระทุ่มต่อไป เพียงแต่จะต้องขอศึกษาสิ่งแวดล้อมก่อนว่า เหมาะสมไหม กระทบสิ่งแวดล้อมไหม ถ้าไม่กระทบ ก็จะดำเนินการต่อสร้างได้ เพียงแต่วันนี้ ของบศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อน ก่อนที่จะสำรวจและออกแบบเขื่อน เพื่อจะตั้งงบประมาณก่อสร้างเขื่อนต่อไป แต่ปีนี้ กำลังพยายามไปดูว่า มีงบประมาณเหลือจ่ายสำหรับงบประมาณศึกษาฯก่อน เพื่อจะได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะ 1 ปี หากเห็นด้วย ไม่กระทบใดๆ ก็ต้องงบประมาณ ออกแบบและสำรวจอีก 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม นายนิยม ช่างพินิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 4 ได้ระดมผู้นำท้องที่และท้องถิ่น มาประชุมเพื่อแก้ปัญหาตลิ่งริมน้ำน่านพัง อาทิ นายจรัฐ แสงปรางค์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสนามคลี อ.บางกระทุ่ม อาทิ นายกอบต.ท่าโพธิ์, นายกอบต.วังน้ำคู้, กำนัน ต.บ้านไร่, กำนัน ต.โคกสลุด ฯลฯ พร้อม ผอ.สนง.เจ้าท่า ภูมิภาคสาขาพิษณุโลก, ชลประทานที่ 3 หารือที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลสนามคลี รับเรื่องปัญหาตลิ่งพังเป็นระยะๆในหลายตำบล นับจากเขตอำเภอเมืองจนถึง ต.สนามคลี อ.กระทุ่มระยะทางยาว 66 กิโลเมตร

พร้อมทำหนังสือ “โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำน่าน” เตรียมผลักดันให้สร้างเขื่อนให้เป็นรูปธรรมต่อไป หนังสือระบุว่า เหตุแม่น้ำน่าน ยังขาดเครื่องมือบริหารจัดการน้ำทีเพียงพอ ต่อการอุปภาค-บริโภค-การเกษตร รวมทั้งป้องกันปัญหาวิกฤตภัยแล้ง-อุทกภัยและตลิ่งทรุด มีความจำเป็นที่จะทำรายงานการศึกษาแผนหลักการพัฒนาต้องศึกษาและจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการน้ำ-อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำน่านตอนล่าง โดยศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งโครงสร้าง ทางเลือกต่างๆ ที่เหมาะสมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในที่ประชุมวานนี้ ผู้นำท้องถิ่นและท้องที่ได้นำเสนอปัญหา ช่วงน้ำท่วมน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำน่าน แต่พอน้ำไหลสู่เบื้องล่าง ทำให้ ปริมาณน้ำลดอย่างรวดเร็วเกือบแห้งจนใกล้ถึงท้องน้ำ ตลิ่งดินสูง ทำให้ทรุดและบางช่วง ถนนพังทำให้ต้องปิดการจราจร ตั้งแต่ในเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก ผ่าน ต.ท่าโพธิ์ บ้านใหม่ บางกระทุ่ม จนถึง อ.สามง่าม จ.พิจิตร หากจะขอก่อสร้างเขื่อนเรียงหิน ป้องกันตลิ่งในหลาย อปท.ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติเนื่องจากงบประมาณสูง และต้องสร้างหลายแห่งตลอดแนวจากตัวเมืองถึง ต.สนามคลี อ.บางกระทุ่ม ระยะทาง 66 เมตร ตามแนวโค้งของแม่น้ำน่าน นายนิยม ช่างพินิจ สส.หลายสมัยของพิษณุโลกกล่าวว่า ปัญหาตลิ่งพังในหลายตำบลในเขตอ.เมืองและ อ.บางกระทุ่มได้รับเรื่องร้องเรียนมาหลายแห่ง จนไม่สามารถจะผลักดันก่อสร้างเขื่อนเรียงหินจุดใดก่อน เพราะทุกแห่งตลิ่งพังเสียหาย หากจะคิด สร้างเขื่อนบางกระทุ่ม ถือว่า แก้ปัญหาตรงจุด ป้องกันปัญหาตลิ่งพังถาวรจะดีกว่า เพราะตั้งแต่ในเขตเทศบาลเมือพิษณุโลก นับจากหน้าวัดใหญ่ถึง ต.สนามคลี อ.บางกระทุ่ม ระยะทาง 66 กิโลเมตร มีความเสียหาย ทำให้ ผู้นำท้องที่-ท้องถิ่น ร้องเรียนมายังตน

ล่าสุดให้ สส. ช่วยผลักดัน งบประมาณ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและทำประชาพิจารณ์จำนวน 35 ล้านบาท เพื่อสร้างเขื่อนบังคับน้ำกั้นแม่น้ำน่านยาว 800 เมตร ที่ อ.บางกระทุ่ม ประเมินว่า มูลค่าพันกว่าล้านบาท หากทำสำเร็จ นอกจากคนบางกระทุ่มไม่ต้องสูญเสียถนนหรือตลิ่งริมน้ำ ยังมีรายได้จากเลี้ยงปลากระชัง แหล่งท่องเที่ยว และยังถือว่า ถือเป็นแห่งที่ 2 นับจากสร้างเขื่อนนเรศวร อ.พรหมพิราม เมื่อปี 2528 และยังได้สะพานข้ามอีก 1 แห่งไว้สัญจร ยอมรับว่า กรมชลฯได้สร้างบางระกำโมเดล เป็นแหล่งรับน้ำแกล้มลิงช่วยคนทั้งประเทศ หากผุดโครงการสร้างเขื่อนบางกระทุ่ม จะช่วยป้องกันตลิ่งพัง และเป็นแหล่งเก็บน้ำและหน่วงน้ำได้อีกแห่ง ด้าน จนท.ชลประทาน เปิดเผยว่า ปัญหาตลิ่งพัง เกิดจากน้ำลด และแรงน้ำใต้ดินพังทลายตลิ่ง ทำให้หน้าดินทรุดถนนพังในหลายจุดยามฤดูแล้ง ตลอดแนวจากหน้าวัดใหญ่จนถึง ต.สนามคลี อ.บางกระทุ่ม มีระยะทางยาว 66 กิโลเมตร หากจะสร้างเขื่อนเรียงหิน ป้องกันตลิ่งพัง จากต้องสร้างแนวหินทิ้ง ประมาณ 150,000 บาทต่อ 1 เมตร หากคำนวณทั้งหมดสองฝั่ง 66 กิโลเมตรย่อมเป็นเงิน 9,900 ล้านบาท งบประมาณรัฐคงไม่มีพอ แต่ถ้าสร้างเขื่อนปิดกั้น ท้ายคือ เขื่อนบางกระทุ่ม เหมือนกับเขื่อนนเรศวร อ.พรหมราม ด้านบน จะทำให้น้ำนิ่ง และรักษาระดับน้ำให้สมดุล ไม่ให้น้ำลดฮวบจนตลิ่งพัง ใช้งบประมาณ 1 พันล้านบาทถือว่า คุ้มและแก้ปัญหาตรงจุด