สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก ลงพื้นที่ดับไฟป่าบริเวณ บ้านบ่อ บ้านใหม่ ตำบลวังนกแอ่น จังหวัดพิษณุโลก

แบ่งปัน

เมื่อวันที่ 24 มกราคม นายวิทยา ณวิพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก ลงพื้นอำนวยการดับไฟป่า บริเวณ บ้านบ่อ บ้านใหม่ ตำบลวังนกแอ่น โดย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก วันพฤหัสบดี ที่ 26 มกราคม 2566 จุดความร้อนจากดาวเทียม Suomi NPP (VIIRS) ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่าในวันที่ 25 มกราคม 2566 พบจุดความร้อนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 11 จุด ได้แก่ อำเภอวัดโบสถ์ (5 จุด) อำเภอนครไทย (3 จุด) อำเภอบางระกำ (2 จุด) และอำเภอเนินมะปราง (1 จุด) # ทั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจุดความร้อนสะสม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 25 มกราคม 2566 จำนวนทั้งสิ้น 337 จุด พบมากที่สุดในอำเภอพรหมพิราม (98 จุด) บางระกำ (60 จุด) เมืองพิษณุโลก (48 จุด) นครไทย (37 จุด) วังทอง (26 จุด) วัดโบสถ์ (25 จุด) บางกระทุ่ม (21 จุด) เนินมะปราง (15 จุด) และชาติตระการ (7 จุด)

จุดความร้อนจากดาวเทียม Suomi NPP (VIIRS) ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก พบว่าในวันที่ 25 มกราคม 2566 พบจุดความร้อนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 11 จุด ได้แก่ อำเภอวัดโบสถ์ (5 จุด) อำเภอนครไทย (3 จุด) อำเภอบางระกำ (2 จุด) และอำเภอเนินมะปราง (1 จุด) # ทั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจุดความร้อนสะสม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 25 มกราคม 2566 จำนวนทั้งสิ้น 337 จุด พบมากที่สุดในอำเภอพรหมพิราม (98 จุด) บางระกำ (60 จุด) เมืองพิษณุโลก (48 จุด) นครไทย (37 จุด) วังทอง (26 จุด) วัดโบสถ์ (25 จุด) บางกระทุ่ม (21 จุด) เนินมะปราง (15 จุด) และชาติตระการ (7 จุด)

ผลการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ณ สวนชมน่านเฉลิมพระเกียรติ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ในวันที่ 26 มกราคม 2566 ณ เวลา 09.00 น. พบว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง มีค่าเท่ากับ 53 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบ

คำแนะนำในการปฏิบัติตน สำหรับประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ขณะที่กลุ่มเสี่ยง* ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศรีษะ หัวใจเต้นไม่ปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ กลุ่มเสี่ยง* หมายถึง เด็ก คนชรา หญิงมีครรภ์ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวในกลุ่มโรคทางเดินหายใจ และโรคหัวใจและหลอดเลือด


ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 26 มกราคม 2566 รวมทั้งสิ้น 118 วัน พบว่า วันที่มีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 40 วัน ระดับคุณภาพดี 40 วัน ระดับปานกลาง 35 วัน และระดับเริ่มมีผลกระทบ 3 วัน