เกษตรจังหวัดพิษณุโลกแถลงสถานการณ์การระบาดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

แบ่งปัน


วันที่ 18 กรกฎาคม 2562 เวลา 10.00 น. ห้องหยาดเพชร โรงแรมเรือนแพ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายธวัชชัย สิทธิวีระกุล เกษตรจังหวัดพิษณุโลก แถลงข่าวเตือนให้เฝ้าระวังหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนเป็นแมลงศัตรูพืชสำคัญที่พึ่งเข้ามาในประเทศไทย

มีวงจรชีวิตประมาณ ใช้เวลา 30 – 40 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่มประมาณ 100 – 200 ฟอง มีขนปกคลุมไข่ ผีเสื้อเพศเมีย 1 ตัวจะวางไข่ประมาณ 1,500 – 2,000 ฟอง ระยะเวลาไข่ 2-3 วัน หนอนมี 6 วัย ระยะหนอน 14-22 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดยาว 3.2 ถึง 4.0 เซ็นติเมตร จะทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้ระยะดักแด้ 7-13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัยมีชีวิต 10 – 21 วัน เต็มตัววัยบินได้ไกลเฉลี่ย 100 กิโลเมตร ต่อคืน

ลักษณะเด่นของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดมีส่วนบนของหัวเป็นแถบสีขาวรูปตัว y หัวกลับ ด้านข้างและหลังมีแถบสีขาวตามยาวของลำตัว ปล้องท้องก่อนปล้องสุดท้ายมีจุดสีดำ 4 จุด ลักษณะการเข้าทำลาย การเข้าทำลายพืชจะเกิดขึ้นในระยะที่เป็นตัวหนอนเท่านั้น นอนจะระบาดทำลายข้าวโพดตั้งแต่อายุประมาณ 7 วันจนกระทั่งออกฝัก ตัวกัดกินยอดและใบข้าวโพดแบ่งหรือกัดกินทั้งแผ่นใบ และจะพบตัวหนอนหลบซ่อนแฝงอยู่ที่ยอดหรือโคนก้านใบข้าวโพด โดยหนอนใบ 3 – 6 เป็นระยะที่ทำความเสียหายมาก

โดยกัดจริงอยู่ในยอดข้าวโพด ระยะก่อนที่ดอกตัวผู้จะโผล่ ต่อจะกัดกินเกสรตัวผู้ หลังจากใบยอดที่ทั้งหมดดอกตัวผู้โผล่หมอจะย้ายไปกินไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินภายในฝัก แมลงจะทำให้ผลผลิตเสียหายประมาณ 70 % ของพื้นที่ โดยมีการป้องกันหมั่นสำรวจแปลงปลูกไปบ่อยๆโดยสังเกตกลุ่มไข่และหนอน ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติที่สามารถควบคุมหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด แตนเบียนไข่ แมลงหางหนีบ ใช้สารชีวภาพเป็นต้น