วัดสะพานสี่ สืบสานอนุรักษ์งานบุญประเพณีพิธีกวนข้าวทิพย์ (ข้าวกระยาสารท)

แบ่งปัน

วันที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 08.00 น วัดพิกุลวราราม (สะพาน 4 ) ตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พระครูสุเมธธรรมโสภณ เจ้าคณะตำบลบ้านป่า พระครูเทียบเท่าเจ้าคณะอำเภอชั้นนอก เจ้าอาวาสวัดพิกุลวราราม (สะพาน 4 ) พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน ร่วมพิธีกวนข้าวกระยาสารท สืบสาน อนุรักษ์งานบุญประเพณีของไทย

ด้วยวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 สิ้นเดือน เป็นวันสารทไทย คำเชื่อโบราณเชื่อกันว่า ยมบาลจะปล่อยสัตว์นรกมารับส่วนบุญส่วนกุศล ฉะนั้นทางวัดยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้าน กวนข้าวเม่า ข้าวตอก ที่มีคุณค่าทางจิตใจ รสชาติดี กลิ่นหอม หวานมัน อร่อย ทำไว้กินเองและทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในพระพุทธศาสนามีประวัติการทำบุญวันสารท เป็นที่มาของการกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส กลายมาเป็นข้าวกระยาสารทของคนไทยจนถึงทุกวันนี้ ส่วนผสมกายาสารท มี กะทิ แบะแซ ข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่วลิสง งา ใบเตย น้ำผึ้ง เกลือป่น มะนาว

กระยาสารท (กระยาสาด) เป็นขนมไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงสารทไทย แรม 15 ค่ำ ปลายเดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารท

แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักสิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน