คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร สร้างสรรค์ศิราภรณ์จากกระดูกไก่ที่เหลือใช้จากการรับประทาน

แบ่งปัน

วันที่ 17 กันยายน 2563 เวลา 14.00 น ตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ได้โชว์ผลงานศิราภรณ์ไทยร่วมสมัย ผสมผสานความดั้งเดิมและปัญหาขยะ ที่เกิดกับสังคมนิยมบริโภคในปัจจุบัน เสมือนการสร้างงานประณีตศิลป์ไทยที่ใช้บนศีรษะจากวัสดุที่มีคุณค่าต่ำสุดจากถังขยะ ผลงานชิ้นนี้จะสื่อถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดคุณค่าสูงสุดกับชีวิตของตนเองและสังคมในโลกอนาคต

รองศาสตราจารย์ ดร.ดนัย เรียบสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้สร้างสรรค์ศิราภรณ์จากกระดูกไก่ เปิดเผยว่า โครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนจากสาขาวิชาออกแบบสื่อนวัตกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อศึกษาดูทรงของกระดูกไก่ที่เหลือจากการรับประทาน สร้างสรรค์ศิราภรณ์ไทยจากกระดูกไก่ ประเมินคุณค่าด้านวัฒนธรรมและการออกแบบ อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการลดขยะอาหารและใช้เศษอาหารได้อย่างคุ้มค่า โดยมีกระบวนการในการสร้างผลงานศิราภรณ์ไทยจากกระดูกไก่ เริ่มจากเก็บกระดูกไก่จากร้านอาหารท้องถิ่น โดยรอบบริเวณมหาวิทยาลัยนเรศวร นำมาทำความสะอาดฟอกสี ฉลุและตัดให้ได้รูปตามต้องการ สำหรับกระดูกที่เหลือจากการตัดจะถูกปั่นละเอียดเป็นลายไทยขนาดต่างๆ ซึ่งขนาดเล็กสุดมีประมาณ 1 เซนติเมตรจำนวนมากกว่า 1,000 ชิ้น ใช้เวลากว่า 2 ปีในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยประกอบด้วย ศิราภรณ์ 3 ชิ้นคือ มงกุฎ รัดเก้ายอด รัดเกล้าเปลว และเครื่องประดับส่วนอื่นของนางละครไทย