รองอธิบดีกรมควบคุมสิทธิและเสรีภาพ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อติดตามและจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติ ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 1 จังหวัดพิษณุโลก

แบ่งปัน

วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 น ห้องวังทอง โรงแรมดิอิมพีเรียลโฮเทล แอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์พิษณุโลก นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อติดตามและจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติ ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 1 จังหวัดพิษณุโลก โดยมีส่วนราชการเข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน

แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 พ. ศ. 2562 ถึง 2565 เกิดขึ้นจากความริเริ่มของรัฐบาลในการตระหนักถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน สืบเนื่องจากการประกอบธุรกิจ รัฐบาลจึงมีความพยายามในการแก้ปัญหาดังกล่าวให้เกิดผลอย่างเป็นรูปประธรรม โดยเชื่อมโยงนโยบาย กฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการต่างๆ ในประเทศ พันธกรณีระหว่างประเทศ กับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ทั้งในมิติการกำหนดหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองประชาชน กำหนดความคาดหวังต่อภาคธุรกิจ ให้ประกอบธุรกิจด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน และกำหนดหน้าที่ของภาครัฐและภาคธุรกิจในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็น 3 หลักการสำคัญตามกรอบแนวทางหลักการ UNGPs


กระทรวงยุติธรรมโดยกรมควบคุมสิทธิและเสรีภาพ ในฐานะหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับมนุษยชน ได้เริ่มดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการมาตั้งแต่ปีพศ. 2559 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ด้วยความมุ่งหวังให้เป็นกรอบแนวทางพื้นฐานในการปฏิบัติงานให้กับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน บรรเทาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเป็นผลจากการประกอบธุรกิจ ดูที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมสัมมนาหารือร่วมกับทุกภาคส่วน ควบคู่กับการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับหลักการ UNGPs อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปี 2561 รัฐบาลได้เจอกันนะทำงานอัตราชาติด้านสิทธิมนุษยชนกับบริษัทข้ามชาติ และองค์กรธุรกิจอื่นๆ หรือคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน มาเยือนประเทศไทย และได้มีโอกาสหารือร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ซึ่งคณะทำงานสหประชาชาติ ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสถานการณ์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ และการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งกระทรวงยุติธรรม โดยกรมควบคุมสิทธิและเสรีภาพ มองว่ากระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทุกภาคส่วน เพื่อให้แผนปฏิบัติการเป็นสิ่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สอดคล้องกับบริบทของไทย และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป