วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 นาวาอากาศเอก ภาณุวัตร เรืองประยูร ผู้บังคับการกองบิน 46 เป็นประธานเปิดพิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติการฝนหลวง ฝูงบิน 461 กองบิน 46 ไปปฏิบัติราชการยังหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อบรรเทาภัยแล้ง และช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ภาคใต้ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มาดำเนินการทำฝนหลวง ในพื้นที่จังหวัดตรัง 5 วันแล้ว ตั้งแต่วันที่ 5-11 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยทำฝนในพื้นที่อำเภอห้วยยอด อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอเมืองตรัง อำเภอปะเหลียน เกิดภาวะฝนตก 4 ครั้ง จากการทำฝนหลวง 5 ครั้ง และจากการประเมินสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดตรัง จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่กว่าแสนไร่ ใน 3 กลุ่มหลัก คือ ปาล์มน้ำมัน กลุ่มยางพารา ที่เริ่มปลูกและต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งในขณะนี้ยังไม่เกิดความเสียหาย และกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ กลุ่มไม้ผล ที่ต้องหารใช้น้ำจำนวนมาก ส่วนในกลุ่มของประมง ผู้เลี้ยงลากระชัง ไม่ควรเลี้ยงปลามากเกินไป หากสามารถจับขายได้ก็จับขายไปก่อน เพื่อลดความแออัดของปลาในกระชัง และปศุสัตว์ ได้มีการออกให้คำแนะนำกับเกษตรกร รวมไปถึงการเตรียมหญ้าไว้แจกจ่ายให้กับเกษตรกร
ในส่วนน้ำต้องมีการแยกเป็น 2 ส่วน คือ น้ำเกษตรกรทั่วไปนั้นหากเดือดร้อนจากปัญหากาขาดแคลนน้ำ สามารถร้องขอความช่วยเหลือไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือโทรศัพท์ไปที่กรมฝนหลวงโดยตรง หรือติดต่อที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือยื่นเรื่องผ่านสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง และอีกช่องทางคือแจ้งที่ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำอำเภอ ส่วนน้ำต้นทุนต้นทุนคือน้ำในอ่างเก็บน้ำ ที่มอยู่ในจังหวัดตรัง ซึ่งที่อ่างเก็บน้ำท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด ขณะนี้ เหลือน้ำประมาณ 61 เปอร์เซ็นต์ ทางศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ทำฝนบริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำเช่นกัน เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำให้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ การขอทำฝนหลวงนั้นจะขอทำฝนหลวงหากฝุ่น PM 2.5 มีปริมาณมาส่งผลกระทบต่อประชาชนและการเกิดไฟไหม้ป่า เพื่อเป็นการดับไฟป่าและลดความเดือดร้อนของประชาชน