การแถลงข่าวเรื่องแผนและความพร้อมด้านการถ่ายโอน ผู้ป่วยภาวะวิกฤติเข้าสู่ระบบการรักษาในสถานพยาบาล
วันนี้ ( 13 ธ.ค. ) เวลา 16.00 น. ณ ห้องประชุมบุณยวงศ์วิโรจน์ ชั้น 5 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก นายแพทย์สุชาติ พรเจริญพงศ์ ผอ.รพ.พุทธชินราช แถลงข่าวเรื่องแผนและความพร้อมด้านการถ่ายโอน ผู้ป่วยภาวะวิกฤติเข้าสู่ระบบการรักษาในสถานพยาบาล
การดูแลผู้ป่วยโควิด-19
กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว (ระดับ 1-2)อาการดี
กักตัวและรักษาอย่างน้อยจนครบ 10 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อโควิด 19 (อาจนานกว่านี้ในกรณีที่มีการติดเชื้อลงปอดหรือตามวิจารณญาณของทีมแพทย์ผู้ดูแล)
ข้อจำกัด: อาจไม่ได้ทำ PCR
อาจไม่ได้ติดตาม CXR ซ้ำ
เอกซเรย์ปอดครั้งแรกครั้งเดียว
- ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดคือวัดสัญญาณชีพ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว วันละ 2 ครั้ง
- วัดออกซิเจนก่อน-หลังลุกนั่งวันละ 1 ครั้ง
- กำหนดค่าออกซิเจนปลายนิ้วที่ชัดเจนในการส่งต่อ ทำให้เกิดความปลอดภัย และส่งต่อได้อย่างรวดเร็วในกรณีทรุดลง
- มีทีมแพทย์และพยาบาลร่วมในการดูแลอย่างเป็นระบบ
- ดูแลแบบบูรณการอย่างเป็นระบบและมีความปลอดภัยไม่ทรุดลง อย่างน้อย 10 วัน
การดูแลผู้ป่วยโควิด-19
กลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง (ระดับ 3) อาการดี มีความเสี่ยง ปอดติดเชื้อ ออกซิเจนปลายนิ้วดี
กักตัวและรักษาอย่างน้อยจนครบ 10 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อโควิด 19 (อาจนานกว่านี้ในกรณีที่มีการติดเชื้อลงปอดหรือตามวิจารณญาณของทีมแพทย์ผู้ดูแล)
ข้อจำกัด: อาจไม่ได้ทำ PCR
- ทำป้ายสัญลักษณ์ให้อส.รจ.ดูแลใกล้ชิด ทานยาต่อหน้า
- ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดคือวัดสัญญาณชีพ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว วันละ 3 ครั้ง
- วัดออกซิเจนก่อน-หลังลุกนั่งวันละ 2 ครั้ง •ติดตามเอกซเรย์ซ้ำทุก 3 วันจนครบ 3 ครั้ง
- กำหนดค่าออกซิเจนปลายนิ้วที่ชัดเจนในการส่งต่อ ทำให้เกิดความปลอดภัย และส่งต่อได้อย่างรวดเร็วในกรณีทรุดลง
- มีทีมแพทย์และพยาบาลร่วมในการดูแลอย่างเป็นระบบ
- ดูแลแบบบูรณการอย่างเป็นระบบและมีความปลอดภัยไม่ทรุดลง อย่างน้อย 10 วัน
การดูแลผู้ป่วยโควิด-19
กลุ่มผู้ป่วยสีแดง (ระดับ 4) มีออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ
กักตัวและรักษาอย่างน้อยจนครบ 10 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อโควิด 19 (อาจนานกว่านี้ในกรณีที่มีการติดเชื้อลงปอดหรือตามวิจารณญาณของทีมแพทย์ผู้ดูแล)
เข้ารับการดูแลในรพ.วังทองหรือรพ.พุทธชินราชตามความเหมาะสม