กรมฝนหลวงฯ เปิดโครงการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศสร้างความชื้นสัมพัทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

แบ่งปัน

วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 น. อาคารเอนกประสงค์ กองบิน 46
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พลเรือเอกปวิตร รุจิเทศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน เป็นประธานในพิธีโครงการโปรยเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศสร้างความขึ้นส้มพัทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2563 ซึ่งจัดโดยศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ร่วมกับ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อสืบสานศาสตร์ตำราฝนหลวงพระราทานและเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในการสร้างความขึ้นสัมพัทธ์ในอากาศ เพิ่มโอกาสการเกิดฝน เพื่อการปฏิบัติการฝนหลวงประสบผลสัมฤทธิ์เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าในการดำรงชีวิตและการใช้ประโยชน์สำหรับชุมชน


นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดผยว่า “ศาสตร์ตำราฝนหลวงพระราชทาน” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนการิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงพระราชทานไว้มีคุณค่าคุณูปการสำหรับการพัฒนาประเทศชาติและสร้างความสุขให้แก่ประชาชน จึงมีพระราชประสงค์ให้ศึกษาและน้อมนำพระราชดำริต่าง ๆไปสู่การปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงทันต่อสถานการณ์ ในปี 2563 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงได้นำมาเผยแพร่แก่หน่วยงานรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างความเข้าใจแนวพระราชดำริและน้อมนำสู่การปฏิบัติจากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็พระนางจ้าสิกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภัครดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันก็จะสร้างป้า”


แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยต่อปัญหาวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ที่ถูกทำลายซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความต้องการใช้ที่ดินทำกินและความรู้เท่ไม่ถึงการณ์ของราษฎรที่เข้าไปบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้เพื่อทำการเกษตร ตลอดจนการล่าสัตว์ป่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร ทำให้ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยถูกทำลายมากขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในธรรมชาติและความแปรปรวนของสภาพอากาศ เช่น ความชื้น
สัมพัทธ์ในอากาศลดลง กระบวนการเกิดฝนและปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติมีค่าผิดปกติตามมา จึงจำเป็นต้องมีการแสวงหาวิธีการและความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการอนุรักษ์ป่าไม้ไม่ให้ถูกทำลายเพิ่มขึ้น และการฟื้นฟูสภาพผืนป่าที่ถูกทำลายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยในบางครั้งไม่สามารถดำเนินการเข้าถึงพื้นที่ป่าทางภาคพื้นได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการบูรณาการจากหน้ที่ความรับผิดชอบหลักของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การฟื้นฟูผืนป่าให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามพระราชเสาวนีย์


สำหรับการปฏิบัติการโดยเม็ดพืชพรรณบริเวณพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจะดำเนินการโดยความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั้ง 7 ศูนย์ เช่น หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดลพบุรี แพกาญจนบุรี หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดอุดรธานีและบุรีรัมย์ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดระยอง และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเม็ดพันธุ์หลายชนิดเช่น มะค่าโมง สมอไทย ประดู่ สนสามใบ แดง กระปุก มะขามป้อม ตะแบกนา เพกา ชัยพฤกษ์ เป็นต้น