เทศบาลนครพิษณุโลกจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเมืองพิษณุโลกสร้างสรรค์ “เมืองสร้างสรรค์” ตามนิยามของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและพัฒนา UNCTAD (อังถัด) ให้ไว้ในรายงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หมายถึง เมืองที่มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจและสังคมของเมืองนั้น และต้องประกอบไปด้วยรากฐานที่มั่นคงทางสังคมวัฒนธรรม มีการรวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่นของคนทำงานสร้างสรรค์และมีสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการลงทุนบนความยั่งยืนของสถานที่ในเชิงวัฒนธรรมและในประเทศไทย มีการกล่าวถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 โคยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จำแนกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ 2.ศิลปะ 3.สื่อ 4.งานสร้างสรรค์และออกแบบ โดยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก
และในปี พ.ศ. 2548 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ผลักดันให้เกิดการจัดตั้ง”ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ” หรือ TCDC ซึ่งปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนเป็น “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์” (องค์การมหาชน) หรือ CEA ที่เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเป้ประสงค์หลัก คือ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมบุคลากรสร้างสรรค์และธุรกิจไทย ให้นำนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ยกระดับสินค้าและบริการของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล
ปัจจุบันเทศบาลนครพิษณุโลกต้องประสบกับปัญหาการขยายตัวของเมืองสู่รอบนอกจนนำไปสู่ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบริบทของเมืองและประชากรที่รุนแรงมากขึ้น หน่วยงานภาคธุรกิจที่สำคัญหลายหน่วยงาน อาทิเช่น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจที่พักอาศัข โรงแรม บริษัทจัดนำเที่ยวแต่ต้องประสบกับปัญหาความเสื่อมสภาพของเมืองจนนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจของเมืองเติบโตช้าซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัญหาเรื้อรังที่รอการปรับปรุงแก้ไขจากทุกภาคส่วนในสังคม
เทศบาลนครพิษณุโลกตระหนักถึงสภาพปัญหาและสถานการณ์การที่ขึ้นจึงจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาเมืองพิษณุโลกสร้างสรรค์ เพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยการวางรากฐานที่มั่นคงทางสังคมวัฒนธรรมเกิดเมืองสร้างสรรค์ที่มีสภาพแวคล้อมที่ดึงดูดการลงทุนบนความยั่งยืนของสถานที่ในเชิงวัฒนธรรมได้อย่างมั่นคงและเติบโตอย่างต่อเนื่องต่อไป