ปัญหาด้านคุณภาพของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง การเน่าเสียที่เกิดจากโรคหลังเก็บเกี่ยว โรคผลเน่า นอกจากนี้ยังพบปัญหาการเกิดเสี้ยนดำบริเวณผิวเปลือก และเกิดเนื้อสีน้ำตาล ทำให้ไม่สามารถส่งออกผลมะม่วงสดไปยังสหรัฐจน ถึงปัจจุบันสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานรากชีวภาพ(องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ จัดทำโครงการ “การศึกษาวิจัยมะม่วงให้ได้คุณภาพมาตรฐานส่งออก”กระทั่งประสบผลสำเร็จในปี 2562 มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้รับการรับรองจากกระทรวงเกษตรสหรัฐ สามารถทำการส่งออกได้อย่างเต็มภาคภูมิ
จากการที่ได้วิจัยในการนำมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีคุณภาพเข้ารับการฉายรังสีแกมม่า 300 กิโลกรัมนั้น และติดตามผลเป็นระยะเวลา 6 วัน พบว่า มะม่วงมีคุณภาพดีทั้งภายนอกและภายในของผล ประกอบกับรสชาติไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ซึ่งในปัจจุบันได้ส่งต่อให้ผู้บริโภคในสหรัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับเกษตรกรชาวสวนมะม่วงไทยและความภูมิใจของนักวิจัยไทย หลังปลดล็อคการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา มะม่วงเป็นพืชเศรษฐกิจในหลายจังหวัด ซึ่งสามารถสร้างรายได้ไห้แก่ประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากมะม่วงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกมะม่วงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีขณะเดียวกันพบว่าในปีที่ผ่านมา การส่งออกผลไม้ไทยไปยังตลาดโลกมีมูลค่า 2.6 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 17%